Thursday, November 22, 2018

ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (Hypothyroidism)


การที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติถือเป็นภาวะผิดปกติที่พบได้บ่อยที่สุดของต่อมไทรอยด์

ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (Hypothyroidism) คือภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อต่อมไทรอยด์ไม่สามารถผลิตไทรอยด์ฮอร์โมนได้มากเพียงพอ ต่อมไทรอยด์ ตั้งอยู่บริเวณลำคอ ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนซึ่งส่งผลต่อกระบวนการเผาผลาญพลังงาน และกระบวนการอื่นๆ เมื่อไทรอยด์ฮอร์โมนถูกสร้างน้อยกว่าปกติ จึงทำให้การทำงานของร่างกายช้าลง ซึ่งภาวะนี้ถือเป็นภาวะผิดปกติของต่อมไทรอยด์ที่พบได้บ่อยที่สุด
อาการของภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (Hypothyroidism)
อาการหรืออาการแสดงของภาวะนี้ประกอบด้วย: 
น้ำหนักเพิ่ม  อ่อนเพลีย  ขี้หนาว  ซึมเศร้า  ผิวแห้ง  ผมบาง   มีประจำเดือนมาก  มีปัญหาในการนอน  มีข้อบวมหรือปวด  ท้องผูก  กล้ามเนื้ออ่อนแรง                                   มีระดับไขมันคลอเลสเตอรอลสูง  
การรรักษาภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ
การรักษาภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำมักใช้การรับประทานยา Levothyroxine หรือในชื่อการค้า Levothroid, Synthroid และอื่นๆ ซึ่ง Levothyroxine เป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ ทำหน้านี้ทดแทนฮอร์โมน thyroxine ที่ร่างกายสร้างได้ไม่เพียงพอ โดยปกติยานี้จะต้องรับประทานทุกวันเพื่อลดอาการของโรค Levothyroxine อาจทำให้ระดับ cholesterol ในเลือดลดลง และทำให้น้ำหนักกลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ยานี้มีผลข้างเคียงน้อย และมักมีราคาไม่แพง มักจะต้องรับประทานยานี้ไปตลอดชีวิต แต่แพทย์อาจทำการปรับระดับยาของคุณเป็นระยะ ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุของภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (Hypothyroidism)

Thursday, August 23, 2018

ไทรอยด์เป็นพิษ

ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism or Graves' disease)


     คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากเกินไป จนทำให้เกิดอาการผิดปกติของร่างกาย ได้แก่

           1. ใจสั่น เหนื่อยง่าย ขี้ร้อน (เช่น ชีพจร เกิน 100 ครั้งต่อนาที)
           2. ท้องเสีย ถ่ายอุจจาระบ่อย
           3. กินจุ แต่น้ำหนักลด
           4. ประจำเดือนผิดปกติ โดยมักจะมาน้อยกว่าปกติ
           5. ในรายท่ีี่รุนแรง อาจมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง เช่นเวลานั่งยองแล้วลุกขึ้นลำบาก
           6. คอโต
           7. ตาโปน ตาแดง กลอกตาแล้วเจ็บ

สาเหตุของภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนเกิน

1. ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism or Graves' disease) เกินจากการที่มีภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดี้ทำให้เกิดไทรอยด์อักเสบและหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป
2. ก้อนในไทรอยด์ หลั่งฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป (Toxic adenoma และ toxic multinodular goiter)
3. ไทรอยด์อักเสบ (Thyroiditis)
4. อื่นๆ เช่นการกินยาไทรอยด์มากเกินไปมักผสมในยาหรืออาหารลดน้ำหนัก เนื้่องอกในต่อมใต้สมองที่ควบคุมไทรอยด์ (TSHoma)

การรักษาไทรอยด์เป็นพิษ

มี 3 วิธี
1. การกินยา มี 2 ชนิด
         1.1 Methimazole (MMI) หรือ Tapazole
         1.2 PTU เหมาะในคนท้อง เฉพาะช่วงไตรมาสแรก และ คนที่แพ้ methimazole
2. กลืนแร่ สารไอโอดีนกัมมันตรังสี-131 (Radioactive iodine หรือ Iodine-131 หรือ I-131) เหมาะใน 
        2.1 ไทรอยด์เป็นพิษที่กลับเป็นซ้ำหรือไม่ตอบสนองต่อยา
         2.2 แพ้ยาไทรอยด์
         2.3 ต้องการให้หายขาดจากไทรอยด์เป็นพิษที่อาการรุนแรง เช่น มาด้วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือ
               หัวใจล้มเหลว
3. ผ่าตัดต่อมไทรอยด์

ทั้งนี้การรักษาแต่ละวิธีขึ้นกับสาเหตุของโรคและผู้ป่วยแต่ละราย ดังนั้นควรปรึกษากับแพทย์ถึงแผนการรักษาที่เหมาะสมกับตัวเอง