Thursday, April 18, 2019

กินอย่างไร ให้ห่างไกลเบาหวาน (How to eat for prevent diabetes mellitus)

กินอย่างไร....ให้ห่างไกลเบาหวาน


อาหารเป้็นปัจจัยทึ่สำคัญที่สุดที่สัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือด ทั้งในแง่การป้องกันการเกิดเบาหวานและควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน หมวดอาหารที่สำคัญที่สุดคือ หมวดคาร์โบไฮเดรต ซึ่งประกอบด้วย ข้าวทุกชนิด อาหารประเภทเส้นทุกชนิดรวมถึงวุ้นเส้น ขนมปัง เผือก มัน ข้าวโพด น้ำตาลและน้ำผึ้ง ถั่วต้มเช่นถั่วเขียวต้ม ผลไม้ทุกประเภทและน้ำผลไม้ น้ำมะพร้าว สุดท้ายผักที่มีแป้งเช่น ฟักทอง แครอท หัวไชเท้า เป็นต้น

การที่เราจะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้นั้นเราควรจะทำความรู้จักกับวิธีการนับปริมาณคาร์โบไฮเดรตให้ได้และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น กาแฟเย็น นมเย็น ชานมไข่มุข ขนมต่างๆ เป็นต้น

ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ควรได้ในแต่ละวัน 10 - 12 ส่วน/คาร์บ

1 ส่วน/1  คาร์บ คือ คาร์โบไฮเดรต 15 กรัม (ข้าวเจ้า 1 ทัพพี หรือ น้ำตาล 3 ช้อนชา)

1. หมวดแป้ง 


เช่น ข้าวทุกชนิด อาหารประเภทเส้นทุกชนิดรวมถึงวุ้นเส้น ขนมปัง เผือก มัน ข้าวโพด


รูปจาก http://110.164.68.234/nutrition_6/index.php/en/2016-03-21-10-18-59

2. หมวดผลไม้


ผลไม้ทุกชนิดประมาณ 1 กำมือหรือส้ม 1 ผล น้ำผลไม้ครึ่งแก้ว (100 มิลลิลิตร)




รูปจาก http://110.164.68.234/nutrition_6/index.php/en/2016-03-21-10-18-59


3. ผักที่ให้พลังงาน


เช่น แครอท ฟักทอง มะเขือเทศ เป็นต้น 1 คาร์บ เท่ากับ ฟักทอง 3 ทัพพี

Picture5

รูปจาก http://110.164.68.234/nutrition_6/index.php/en/2016-03-21-10-18-59

ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ควรได้ในแต่ละวัน 10 - 12 ส่วน/คาร์บ
ส่วนใหญ่เราจะกินอาหารวันละ 3 มื้อ และ ของว่าง 1-2 มื้อ
จึงควรกำหนดข้าว/เส้น ประมาณ 2 ส่วนหรือ2ทัพพี ต่อมืื้อ
และ ผลไม้ 1 ส่วนหรือประมาณส้ม 1 ลูกต่อมื้อ และหลีกเลี่ยงขนมหวาน น้ำหวาน น้ำผึ้งและน้ำตาล

ฉะนั้น หลายท่านคิดว่าจะรับประทานผลไม้แทนข้าว ต้องระมัดระวังด้วยเพราะผลไม้ก็มีคาร์โบไฮเดรต เช่นกัน

Tuesday, April 9, 2019

ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ (Thyroid nodule)

ไทรอยด์โต ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ หรือ คอพอก


เมื่อเราพบว่ามีก้อนที่บริเวณด้านหน้าลำคอและโตขึ้น มักจะได้ยินคนทักว่า เป็นโรคไทรอยด์ บ่อยๆ แต่บางครั้งก็ได้ยินหมอบอกว่า เป็นคอหอยพอกบ้าง เนื้องอกไทรอยด์บ้าง เลยไม่รู้ว่า  เป็นโรคไทรอยด์ หรือ โรคอื่นกันแน่  ความจริง ไทรอยด์ เป็นชื่อของอวัยวะ ขณะที่ คอพอก เนื้องอก หรือ มะเร็ง เป็นชื่อโรค 

ความสำคัญของก้อนที่ต่อมไทรอยด์หรือคอพอก
การที่คอโตนั้นถ้าเป็นไทรอยด์จะต้องเคลื่อนที่ตามการกลืน และอยู่บริเวณส่วนหน้าของลำคอ และจะมีความสำคัญเมื่อก้อนในต่อมไทรอย์มีขนาดเกิน 1 เซนติเมตร (บางครั้งเกิน 0.5 เซนติเมตร) เพราะจำเป็นต้องตรวจชิ้นเนื่อ
(Fine Needle Aspiration หรือ FNA) เพื่อวิเคราะห์ว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ 


The Photo Of Goitre On Woman's Body Isolate On White Background, Windpipe, Concept with Healthcare And Medicine royalty-free stock photo Woman having her neck scanned with ultrasound royalty-free stock photo

ควรตรวจ
1. ตรวจร่างกายโดยแพทย์เฉพาะทาง อายุรกรรมต่อมไร้ท่อ (Endocrine) ศัลยกรรม (Surgeon) หรือแพทย์ หูคอจมูก (ENT)
2. ตรวจเลือดฮอร์โมนไทรอยด์
3. ตรวจอัตราซาวด์คอ (Ultrasound of Neck) เพื่อดูว่ามีกี่ก้อนและมีต่อมน้ำเหลื่องที่คอโตหรือไม่
4. ตรวจชิ้นเนื่อ (Fine Needle Aspiration หรือ FNA) เพื่อดูว่าเป็นมะเร์็งหรือไม่
5. บางครั้งอาจมีการตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (Thyroid uptake and scan)

โรคที่อาจเป็นไปได้
1. เนื้องอกชนิดไม่ร้ายของต่อมไทรอยด์ (thyroid adenoma) พบได้ประมาณร้อยละ 20-30 
2. เนื้องอกชนิดไม่ร้ายของต่อมไทรอยด์ที่เป็นพิษร่วมด้วย (toxic adenoma) เป็นเนื้องอกที่สามารถผลิตฮอร์โมน (ปกติ thyroid adenoma จะไม่ผลิตฮอร์โมน) พบได้ไม่บ่อย 
3. มะเร็งของต่อมไทรอยด์ (thyroid carcinoma) พบได้ร้อยละ 10-15 ในระยะเริ่มต้นจะเป็นก้อนเดี่ยว  ขนาดเล็ก และ โตขึ้นเรื่อยๆ ก่อนที่จะมีการแพร่กระจายเป็นก้อนหลายก้อนในเนื้อต่อมไทรอยด์ หรือ แพร่กระจายไปที่อื่น เช่นที่ต่อมน้ำเหลือง หรือ ที่กระดูก ฯลฯ
4. คอพอก หรือ คอหอยพอก (nodular goiter) ร้อยละ 50 - 60 ของก้อนเดี่ยวที่ต่อมไทรอยด์ มีความผิดปกติอยู่ในกลุ่มของคอหอยพอก ซึ่งในระยะเริ่มต้นจะตรวจพบลักษณะเป็นก้อนเดี่ยว แต่เมื่อเวลาผ่านไป จะพบการโตขึ้นของต่อมไทรอยด์ เป็นก้อนหลายก้อน หรือ โตที่คอทั้ง ข้างได้  

แต่อย่างไรก็ตามถ้ามีก้อนที่คอ ควรมาตรวจโดยแพทย์เฉพาะทาง และ ควรรีบมาถ้าก้อนโตเร็วมาก กลืนลำบาก เสียงแหบ หรืออาการผิดปกติอื่่นเช่น ใจสั่น เหงื่อออกมาก น้ำหนักลด เป็นต้น

อ้างอิง
Fisher SB. The incidental thryroid nodule. CA Cancer J Clin. 2018;68(2):97-105.

เรียบเรียง โดย นายแพทย์ธีรวุฒิ (Doctor Theerawut)

Tuesday, April 2, 2019

สิว (Acne)

สิวเป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในวัยหนุ่มสาว ซึ่งโดยส่วนใหญ่เมื่ออายุมากขึ้นก็จะลดน้อยลงเรื่อยๆ


สิวเกิดจากการอักเสบของต่อมไขมัน จึงพบบ่อยที่ ใบหน้า หน้าอก คอ หรือต้นแขน

สิวมีหลายระยะตั้งแต่ หัวขาวๆ ตุ่มแดง ตุ่มหนอง

สาเหตุการเกิดสิว เช่น อดนอน  ควมเครียด อาหารบางชนิด เครื่องสำอาง ยาบางชนิด เช่นยาคุมกำเนิด ยาสเตียรอยด์ โรคอ้วน (obesity) โรคฮอร์โมน เช่น cushing syndrome, polycystic ovary syndrome (PCOS) เป็นต้น ดังนั้นการหาสาเหตุการเกิดสิวจึงเป็นสิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม ถ้าแก้ไขที่สาเหตุก็จะช่วยป้องกันการเกิดสิวในอนาคต

เมื่อเกิดสิวขึ้นถ้าอักเสบ อาจมีอาการเจ็บ กังวล เสียความมั่นใจ หรืออาจซึมเศร้าได้

การรักษาสิวคือการป้องกันการเกิดสิวใหม่และลดการอักเสบของรอยโรคเดิม ซึ่งต้องอาศัยเวลาในการรักษา การรักษามีทั้งยาทาและยากินขึ้นกับความรุนแรงของสิวในขณะนั้น บางครั้งอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย

การกดสิวอาจทำโดยแพทย์ผู้รักษาเพื่อขจัดสิวอุดตัน แต่ผู้ป่วยไม่ควรบีบหรือแกะสิวเองเพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำลงไปบริเวณนั้น

อย่างไรก็ตามหากเป็นสิวเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางอายุรกรรมโรคผิวหนัง (Dermatologist)

อ้างอิง
Bagatin E, et al. An Bras Dermatol. 2019