Wednesday, April 29, 2020

การดูแลเบาหวานช่วงโควิด-19 ระบาด

เบาหวานเป็นกลุ่มเสี่ยงจากติดเชื้อโควิด-19 เราจะมีวิธีการรับมืออย่างไร



โควิด-19 (COVID-19) หรือ Coronavirus ซึ่งมีจุดเริ่มต้นที่ประเทศจีน เมืองอู่ฮั่น (Wuhan) และกระจายไปทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อหลายล้านคน ผู้เสียชีวิตมากกว่าศึกสงครามเสียอีก
สำหรับผู้ป่วยเบาหวานนั้นในสถานการณ์ปกติก็เสี่ยงต่อการติดเชื้อ การติดเชื้ออยู่แล้วทั้งเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสและปรสิต เพราะผู้ป่วยเบาหวานมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำลงและเชื้อเจริญเติบโตได้ดีในภาวะที่น้ำตาลสูง ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้จะยิ่งมีความเสี่ยงในการติดเชื้อสูง
ความเสี่ยงของการเสียชีวิตในโรคโควิด-19 นั้นจะเพิ่มมากขึ้นในผู้ป่วยสูงอายุ ได้รับยากดภูมิ มีโรคประจำตัวเช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและโรคทางระบบทางเดินหายใจเป็นต้น สำหรับผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงของการเสียชีวิตหรือเกิดการติดเชื้อรุนแรงในโรคโควิด-19 มากกว่าคนทั่วไปถึง 3.5 เท่า
การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด นอกจากการล้างมือ ไม่สัมผัสบริเวณใบหน้า การใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) แล้ว ก็ควรที่จะต้องทำ
  1. ตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้วมือ ไม่ให้ระดับนำ้ตาลก่อนอาหารเกิน 130 มก/ดล หรือ หลังอาหารเกิน 180 มก/ดล 
  2. ควบคุมอาหาร โดยเฉพาะพวกแป้งและน้ำตาล ไม่ควรเกิน 10-12 คาร์บต่อวัน
  3. เน้นอาหารจำพวกโปรตีนเช่นเนื้อสัตว์ นม ไข่เป็นต้น 
  4. ควรรับประทานผักและผลไม้ที่หลากหลาย เพื่อจะได้วิตามินและเกลือแร่ในปริมาณที่เพียงพอ ถ้ามีภาวะขาดวิตามินหรือเกลือแร่ควรเสริมสารอาหารจำพวกเกลือแร่และวิตามิน 
  5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ควรหลีกเลี่ยงสถานที่แออัดเช่นสระว่ายน้ำหรือสนามกีฬา
  6. ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสไข้หวัดใหญ่ประจำปีและวัคซีนป้องกันปอดติดเชื้อจากแบคทีเรีย
  7. ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่าให้มีภาวะขาดน้ำ เช่นปากแห้ง คอแห้ง หน้ามืด
  8. สังเกตตัวเองถ้าสงสัยติดเขื้อโคยวิด-19 ให้โทรศัพท์ไปที่ กรมควบคุมโรค หมายเลขโทรศัพท์ 1422 หรือสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หมายเลขโทรศัพท์ 1669 หรือ สายด่วยโควิด-19 หมายเลขโทรศัพท์ 02-092-7222


เรียบเรียงโดยนายแพทย์ธีรวุฒิ (Doctor Theerawut)

เอกสารอ้างอิง
  1. Gupta R, Ghosh A, Singh AK, Misra A. Clinical considerations for patients with diabetes in times of COVID-19 epidemic. Diabetes Metab Syndr. 2020;14(3):211–212. doi:10.1016/j.dsx.2020.03.002

No comments:

Post a Comment