Tuesday, April 9, 2019

ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ (Thyroid nodule)

ไทรอยด์โต ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ หรือ คอพอก


เมื่อเราพบว่ามีก้อนที่บริเวณด้านหน้าลำคอและโตขึ้น มักจะได้ยินคนทักว่า เป็นโรคไทรอยด์ บ่อยๆ แต่บางครั้งก็ได้ยินหมอบอกว่า เป็นคอหอยพอกบ้าง เนื้องอกไทรอยด์บ้าง เลยไม่รู้ว่า  เป็นโรคไทรอยด์ หรือ โรคอื่นกันแน่  ความจริง ไทรอยด์ เป็นชื่อของอวัยวะ ขณะที่ คอพอก เนื้องอก หรือ มะเร็ง เป็นชื่อโรค 

ความสำคัญของก้อนที่ต่อมไทรอยด์หรือคอพอก
การที่คอโตนั้นถ้าเป็นไทรอยด์จะต้องเคลื่อนที่ตามการกลืน และอยู่บริเวณส่วนหน้าของลำคอ และจะมีความสำคัญเมื่อก้อนในต่อมไทรอย์มีขนาดเกิน 1 เซนติเมตร (บางครั้งเกิน 0.5 เซนติเมตร) เพราะจำเป็นต้องตรวจชิ้นเนื่อ
(Fine Needle Aspiration หรือ FNA) เพื่อวิเคราะห์ว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ 


The Photo Of Goitre On Woman's Body Isolate On White Background, Windpipe, Concept with Healthcare And Medicine royalty-free stock photo Woman having her neck scanned with ultrasound royalty-free stock photo

ควรตรวจ
1. ตรวจร่างกายโดยแพทย์เฉพาะทาง อายุรกรรมต่อมไร้ท่อ (Endocrine) ศัลยกรรม (Surgeon) หรือแพทย์ หูคอจมูก (ENT)
2. ตรวจเลือดฮอร์โมนไทรอยด์
3. ตรวจอัตราซาวด์คอ (Ultrasound of Neck) เพื่อดูว่ามีกี่ก้อนและมีต่อมน้ำเหลื่องที่คอโตหรือไม่
4. ตรวจชิ้นเนื่อ (Fine Needle Aspiration หรือ FNA) เพื่อดูว่าเป็นมะเร์็งหรือไม่
5. บางครั้งอาจมีการตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (Thyroid uptake and scan)

โรคที่อาจเป็นไปได้
1. เนื้องอกชนิดไม่ร้ายของต่อมไทรอยด์ (thyroid adenoma) พบได้ประมาณร้อยละ 20-30 
2. เนื้องอกชนิดไม่ร้ายของต่อมไทรอยด์ที่เป็นพิษร่วมด้วย (toxic adenoma) เป็นเนื้องอกที่สามารถผลิตฮอร์โมน (ปกติ thyroid adenoma จะไม่ผลิตฮอร์โมน) พบได้ไม่บ่อย 
3. มะเร็งของต่อมไทรอยด์ (thyroid carcinoma) พบได้ร้อยละ 10-15 ในระยะเริ่มต้นจะเป็นก้อนเดี่ยว  ขนาดเล็ก และ โตขึ้นเรื่อยๆ ก่อนที่จะมีการแพร่กระจายเป็นก้อนหลายก้อนในเนื้อต่อมไทรอยด์ หรือ แพร่กระจายไปที่อื่น เช่นที่ต่อมน้ำเหลือง หรือ ที่กระดูก ฯลฯ
4. คอพอก หรือ คอหอยพอก (nodular goiter) ร้อยละ 50 - 60 ของก้อนเดี่ยวที่ต่อมไทรอยด์ มีความผิดปกติอยู่ในกลุ่มของคอหอยพอก ซึ่งในระยะเริ่มต้นจะตรวจพบลักษณะเป็นก้อนเดี่ยว แต่เมื่อเวลาผ่านไป จะพบการโตขึ้นของต่อมไทรอยด์ เป็นก้อนหลายก้อน หรือ โตที่คอทั้ง ข้างได้  

แต่อย่างไรก็ตามถ้ามีก้อนที่คอ ควรมาตรวจโดยแพทย์เฉพาะทาง และ ควรรีบมาถ้าก้อนโตเร็วมาก กลืนลำบาก เสียงแหบ หรืออาการผิดปกติอื่่นเช่น ใจสั่น เหงื่อออกมาก น้ำหนักลด เป็นต้น

อ้างอิง
Fisher SB. The incidental thryroid nodule. CA Cancer J Clin. 2018;68(2):97-105.

เรียบเรียง โดย นายแพทย์ธีรวุฒิ (Doctor Theerawut)

No comments:

Post a Comment